ข้าวเหนียวเขี้ยวงู |
แหล่งที่มาและประวัติ
ประเทศไทยมีความหลากหลายในแต่ละภูมินิเวศน์ทำให้มีทรัพยากรทางพันธุกรรมข้าวโดยเฉพาะพันธุ์พื้นเมืองจากแหล่งต่างๆทั่วประเทศค่อนข้างมาก
ซึ่งมีความแตกต่างไปตามลักษณะของพันธุ์ เช่นลักษณะทางสัณฐานวิทยา ลักษณะทางการเกษตร
คุณภาพเมล็ดความต้านทานและทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่มีปัญหา จากการที่กรมการข้าวได้มีการรวบรวมพันธุกรรมข้าวในประเทศตั้งแต่ปีพุทธศักราช
2492 ทำให้ได้พันธุ์ข้าวจำนวนมาก ข้าวเหนียวเขี้ยวงูซึ่งเป็นพันธุ์พื้นเมืองส่วนหนึ่งได้ถูกรวบรวมและเก็บรักษาไว้ที่ศูนย์ปฏิบัติการและเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติ
อาคารทรัพยากรพันธุกรรมพืชสิรินธร ภายในบริเวณศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี อำเภอธัญบุรี
จังหวัดปทุมธานี
ได้มีการจำแนกปลูกฟื้นฟูและบันทึกลักษณะประจำพันธุ์ โดยนางสาวอรพิน
วัฒเนสก์ตำแหน่งขณะนั้นคือนักวิชาการเกษตร 7ว
ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี สถาบันวิจัยข้าว กรมวิชาการเกษตร
(ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านปรับปรุงพันธุ์ข้าว
สำนักวิจัยและพัฒนาข้าวกรมการข้าว) ต่อมาในฤดูนาปี 2548 ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตเชียงราย (ปัจจุบันคือศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย)
ได้ขอเชื้อพันธุ์ข้าวเหนียวเขี้ยวงูจำนวน 28 สายพันธุ์ๆละ 10-15 กรัมมีความงอกไม่ต่ำกว่าร้อยละ
90 จากศูนย์ปฏิบัติการและเก็บเมล็ดเชื้อพันธุ์ข้าวแห่งชาติมาปลูกศึกษาและคัดเลือกพันธุ์
โดยนายพายัพภูเบศวร์มากกูล นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ
ซึ่งพิจารณาจากสายพันธุ์ที่เป็นข้าวเหนียว มีลักษณะคุณภาพทางกายภาพคือขนาดเมล็ดเล็กและเรียวยาว หลังการเก็บเกี่ยวนำตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ไปให้เกษตรกรที่เคยปลูกข้าวเหนียวเขี้ยวงูซึ่งขณะนั้นเปิดกิจการเป็นเจ้าของโรงสีและแปรรูปข้าวเหนียวเขี้ยวงูในจังหวัดเชียงรายพิจารณาและโรงสีได้คัดเลือกไว้จำนวน
3 สายพันธุ์ จากนั้นจึงได้เริ่มทำการคัดเลือกพันธุ์บริสุทธิ์
ตั้งแต่ปี 2549 – 2551 โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบหมู่ (mass
selection) จนได้สายพันธุ์บริสุทธิ์ทั้ง 3 สายพันธุ์รวมทั้งบันทึกลักษณะประจำพันธุ์ไว้ทั้งหมด ปี 2549-2554
ทดสอบปฏิกิริยาต่อโรค แมลง การตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนวิเคราะห์คุณภาพเมล็ดทางกายภาพและเคมี
องค์ประกอบทางเคมีคุณค่าทางโภชนาการและปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ
ปี 2552–2554 นำข้าวเหนียวเขี้ยวงูดังกล่าวเปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานีที่ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย
ปี 2552 เปรียบเทียบผลผลิตในนาเกษตรกรจังหวัดเชียงราย
จำนวน 5 แปลง ได้แก่อำเภอเมือง
2 แปลง อำเภอแม่จัน 2 แปลงและอำเภอ ลักษณะประจำพันธุ์ 1.ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ประเภทพืชล้มลุก วงศ์หญ้า เป็นข้าวนาสวน ไวต่อช่วงแสง ต้น
ทรงกอตั้ง ปล้องสีเขียว ลำต้นแข็ง ความสูงถึงปลายรวงเฉลี่ย 183
เซนติเมตร ความยาวรวงเฉลี่ย 23.5 เซนติเมตร ใบ
สีเขียว มีขนบ้าง กาบใบสีเขียว ใบธงยาวเฉลี่ย 42.4 เซนติเมตร กว้างเฉลี่ย 1.36 เซนติเมตร
ลักษณะใบธงหักลง ใบแก่เร็ว ดอก/ช่อดอก
ยอดดอกสีชมพู ยอดเกสรตัวเมียสีขาว
กลีบรองดอกสีเขียวอ่อน คอรวงยาว รวงแน่นและแตกระแง้ปานกลาง เมล็ด จำนวนเมล็ดดีต่อรวงเฉลี่ย 124 เมล็ด สีของเปลือกเมล็ดในระยะสุกแก่สีฟางก้นจุด ไม่มีขน ไม่มีหาง กลีบรองดอกสีขาว เมล็ดเรียวขนาดของเมล็ดข้าวเปลือกยาว 10.74 ± 0.32 มิลลิเมตร กว้าง 2.35 ± 0.06 มิลลิเมตร หนา 1.89 ± 0.04 มิลลิเมตร ขนาดของเมล็ดข้าวกล้องยาว 7.29 ± 0.22 มิลลิเมตร กว้าง 1.87 ± 0.05 มิลลิเมตร หนา 1.67 ± 0.04 มิลลิเมตรขนาดของเมล็ดข้าวสารยาว 6.84 ± 0.20 มิลลิเมตรกว้าง 1.78 ± 0.05 มิลลิเมตรหนา 1.62 ± 0.05 มิลลิเมตร ข้าวกล้องสีขาว รูปร่างเรียว (3.90 ± 0.16 มิลลิเมตร) น้ำหนัก 1,000 เมล็ดเฉลี่ย 21.80 กรัม น้ำหนักข้าวเปลือกต่อถัง 9.78 กิโลกรัม 2. ลักษณะอื่นๆ 1.
ผลผลิตในนาเกษตรกรอยู่ระหว่าง 371 – 484 กิโลกรัมต่อไร่ 2.
ออกดอก 75 เปอร์เซ็นต์วันที่ 30 ตุลาคม-2 พฤศจิกายน 3.
ต้านทานต่อโรคไหม้และค่อนข้างต้านทานโรคขอบใบแห้งในเขตภาคเหนือตอนบน 4.
ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดหลังขาวในเขตภาคเหนือตอนบน 5.
พื้นที่แนะนำคือพื้นที่ปลูกข้าวเหนียวนาปีที่ไม่มีปัญหาเรื่องน้ำในระยะออกดอก
และควรเป็นแหล่งที่เกษตรกรปลูกตามความต้องการของผู้ประกอบการที่สามารถเชื่อมโยงผลผลิตไปสู่การแปรรูปที่เป็นผลิตภัณฑ์ประเภทของหวานโดยเฉพาะ 3.
ลักษณะเด่นพิเศษ 1. ข้าวเหนียวพันธุ์เขี้ยวงูเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิมมีลักษณะเมล็ดเล็ก
เรียวยาว สวยงาม โดยมีอัตราส่วนความยาวต่อความกว้างของข้าวกล้องมากกว่าพันธุ์
กข6 เมื่อนึ่งสุกแล้วข้าวมีสีขาว (คะแนน 6.7 พันธุ์ กข6 คะแนน 6.6) การเกาะตัวเหนียวแต่ไม่เละ
(คะแนน 8.4 พันธุ์ กข6 คะแนน 8.3)
ผิวมีความเลื่อมมันค่อนข้างมาก (คะแนน 7.8 พันธุ์
กข6 คะแนน 7.7) เนื้อสัมผัสนุ่มและมีกลิ่นหอม
ด้วยลักษณะและรูปลักษณ์ที่ปรากฏเมื่อนำไปแปรรูปเป็นอาหารประเภทของหวานที่ต้องใช้ข้าวเหนียวมูนเป็นหลักเช่น
ข้าวเหนียวมะม่วง ข้าวเหนียวทุเรียน ข้าวหลาม
ไอศกรีมขนมไทยหรือข้าวเหนียวหน้าต่างๆ เป็นต้น
จะทำให้ของหวานนั้นๆน่ากินเนื่องจากมีความน่ารักของขนาดรูปร่างเมล็ดที่เล็กเรียว
แยกเป็นเมล็ดไม่เกาะตัวแน่น น้ำกะทิสามารถเคลือบได้ทุกส่วน
ผิวเลื่อมมันวาวรวมทั้งมีความขาวและกลิ่นหอมน่ารับประทาน (เมล็ดข้าวอายุ 4
เดือนวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพทางกายภาพและประเมินคุณภาพข้าวโดยการชิมโดยศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี
กรมการข้าว) 2. เป็นข้าวเหนียวที่มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระ
(antioxidants) ในรูปของวิตามินอี
เด่นเป็นพิเศษ โดยเฉพาะวิตามินอีในรูปแบบที่เรียกว่า Mixed
tocopherolsซึ่ง tocopherolแต่ละชนิดจะช่วยกันกำจัดอนุมูลอิสระที่ต่างชนิดกันแต่เสริมการทำงานซึ่งกันและกัน
จากการตรวจวัดปริมาณสารของวิตามินอีใน 3 Isomers ของข้าวเหนียวพันธุ์เขี้ยวงูนี้พบว่ามีแอลฟา
(αtocopherol) ซึ่งเป็นวิตามินอีเพียงโครงสร้างเดียวที่มีประสิทธิภาพทางชีวเคมีมากที่สุด
มีบทบาทสำคัญในขบวนการ metabolism ในร่างกายโดยเฉพาะเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลด
คอเลสเตอรอล สูงถึง 5.32 มิลลิกรัมต่อรำ 100 กรัม มากกว่าข้าวเหนียวพันธุ์ กข6 ร้อยละ 39
(3.82 มิลลิกรัมต่อรำ 100 กรัม) มีอิปไซลอน
(Ytocopherol) สูงถึง 4.11 มิลลิกรัมต่อรำ
100 กรัม มากกว่าพันธุ์ กข6 ร้อยละ 332
( 0.95 มิลลิกรัมต่อรำ 100 กรัม )
และมีเดลต้า (δtocopherol) จำนวน 0.26 มิลลิกรัมต่อรำ 100 กรัม สูงกว่าพันธุ์ กข6
ร้อยละ 18 (0.22 มิลลิกรัมต่อรำ 100 กรัม) นอกจากนี้ยังมีสารแกมมา (g–oryzanol) ซึ่งเป็นสารช่วยลดการเกิดปฏิกิริยา oxidation ซึ่งเป็นผลผลิตจากคอเลสเตอรอลที่อาจก่อให้เกิดสารประกอบที่ทำให้เป็นอันตรายต่อเซลต่างๆในหลอดเลือดซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเส้นเลือดอุดตันในหัวใจโรคที่เกี่ยวกับปอดและโรคมะเร็ง
รวมทั้งอาการผิดปกติของวัยทอง มีปริมาณ 188.2 มิลลิกรัมต่อรำ
100 กรัม (เมล็ดข้าวอายุ 4 เดือนวิเคราะห์ข้อมูลโดยบริษัทห้องปฏิบัติการกลาง
(ประเทศไทย) จำกัด) 3 .องค์ประกอบทางเคมีและคุณค่าทางโภชนาการในข้าวกล้อง
100 กรัม มีใยอาหาร (Total dietary fiber) ไขมัน และโปรตีน 3.74 2.68 และ 7.52 กรัมสูงกว่าพันธุ์ กข6 ร้อยละ 10.6
10.7 และ 0.4 ตามลำดับ
มีพลังงาน 258.56 กิโลแคลอรี และคาร์โบไฮเดรต 76.09
กรัม (เมล็ดข้าวอายุ 6 เดือนวิเคราะห์ข้อมูลโดยศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี
กรมการข้าว) |